การศึกษาพ่อแม่ทุกคนตระหนักดีว่าเป็นเรื่องสำคัญของลูก พ่อแม่เห็นความสำคัญจนเป็นความกังวลและความเครียดและต้องยอมเสียเงินมากมายเพื่อให้ลูกได้เข้าไปติวในสถานศึกษาที่ใครๆเขาบอกว่าดีที่สุด ที่จะทำให้ลูกเราเข้าคณะและมหาวิทยาลัยที่ดีได้ ยอมรอคิวกันเป็นเดือนๆ ทำให้เรื่องนี้เป็นความกังวลของผู้เขียน เพราะคุณพ่อคุณแม่กำลังหวังดีประสงค์ร้าย ทำให้ระบบการเรียนรู้โดยทักษะของตัวเองของลูกหายไป ก่อเกิดเป็นคนขาดความมั่นใจและปิดซ่อนไว้ด้วยความก้าวร้าวหรือดื้อรั้น หัวแข็ง มั่นใจในตัวเองแบบผิดๆ
มีคำพูดอยู่คำหนึ่งที่ผู้เขียนมักจะบอกกับลูกเสมอว่า "ถ้าเราเป็นทุเรียน เราก็เป็นทุเรียนที่อร่อยแบบทุเรียน อย่าพยายามเป็นทุเรียนที่อร่อยเหมือนมะม่วง เพราะเราจะเป็นไม่ได้ดีทั้งมะม่วงและทุเรียน และคนกินก็ต้องรู้ว่าอยากกินทุเรียนอร่อย หนามย่อมแหลมคม"
การพยายามส่งลูกไปติวก็เหมือนการทำทุเรียนให้เป็นมะม่วง เนื้อแท้ของลูก็จะหายไป ผู้เขียนอาจเป็นคนไม่เห็นด้วยกับวิธีส่งลูกไปติว แต่ก็มีเหตุผลนะคะ
การติวไม่ใช่ไม่ดีหรือไม่ควรมี แต่ควรจะดูที่ความเหมาะสม ยังไง เดี๋ยวมาคุยกัน แล้วก็ต้องรู้ด้วยว่าอะไรที่เขาเรียกว่าการติวที่ดี และผู้ปกครองจะมีส่วนช่วยการติวให้สำเร็จด้วยดีได้อย่างไร
ความรับผิดชอบของติวเตอร์
การติวที่ดีไม่ใช่เพื่อให้เป็นไปตามประสงค์ของพ่อแม่ แต่ผู้เขียนเห็นว่าควรจะเป็นการติวเพื่อพัฒนาเด็กซึ่งอาจจะหมายถึงการที่จะต้องกล้าบอกผู้ปกครองว่าลูกคุณไม่ควรต้องรับการติวอีกต่อไป เพราะความสำเร็จทางการศึกษาของเด็กขึ้นอยู่กับความเข้าใจในเด็กของติวเตอร์ ผู้เขียนมักจะบอกผู้ปกครองแบบนี้เมื่อผู้เขียนมีโอกาสไปติวให้ใคร เหตุผลเพราะอะไร เดี๋ยวพักไว้ก่อน แต่ที่สำคัญคือติวเตอร์ต้องมีความ mature พอที่จะติวเด็กให้เด็กไม่ต้องพึ่งติวเตอร์อีกต่อไป คือสามารถที่จะเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตัวเอง และเรียนรู้ได้เอง เหมือนตอนที่เด็กแรกเกิดมาจนเดินและช่วยตัวเองได้ และติวเตอร์ต้องสื่อสารให้พ่อแม่และคุณครูของเด็กเห็นสิ่งที่เด็กเป็นได้ด้วย เพื่อให้เด็กพัฒนาต่อไปได้เองอย่างต่อเนื่องไม่ถูกหยุดไว้เพราะความตระหนกของผู้ปกครอง
ผู้เขียนกล้าพูดเพราะผู้เขียนติวเด็กมามาก และใช้เวลาน้อยมากที่จะทำให้เด็กแต่ละคนพัฒนาเก่งขึ้นมาได้ ผู้เขียนจึงมั่นใจว่าตัวเองมาถูกทาง และเด็กแต่ละคนก็ประสบความสำเร็จในชีวิต
เด็กคนไหนควรมีหรือไม่ควรมีติวเตอร์
อย่างที่ผู้เขียนพักไว้ว่า ต้องมีวันที่ติวเตอร์บอกกับผู้ปกครองได้ว่าเด็กไม่ต้องการติวเตอร์
ก่อนอื่นเรามาพิจารณาดูเหตุผลว่าทำไมเด็กถูกส่งไปติว
- พ่อแม่อยากให้ลูกตัวเองเป็นเลิศ
- พ่อแม่มองว่าลูกเรียนในระบบโรงเรียนไม่ได้ หรือจัดระบบตัวเองไม่ได้
- ลูกต้องไปทดสอบวัดความสามารถเพื่อเข้าเรียนที่ใดที่หนึ่ง
ผู้เขียนได้รู้จักครอบครัวหนึ่งมีบูกที่ดูแล้วจะช้าไม่เหมือนคนอื่น แต่ความเข้าใจของแม่ที่มีต่อลูกและความเข้าใจเรื่องข้อจำกัดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ ส่งเสริมให้ลูกกลายเป็นคนสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองเด่น โดยไม่ต้องเก่งเหมือนคนอื่น เพราะเมื่อเด็กเป็นตัวของตัวเอง เขาไม่กลัวที่จะเดินไปข้างหน้าด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมาถามติวเตอร์ว่าถูกไหม หรือฉันจะทำได้ไหม
เด็กฉลาดๆบางคนพอโดนบังคับให้เรียนมากๆเลยเถลไปนอกลู่นอกทาง พ่อแม่เสียเงินเปล่า เลยสูญเสียโอกาสที่จะได้ดึงความฉลาดของตนเองมาทำให้ดีขึ้นจริงๆ เมื่อได้ติวเตอร์ที่เหมาะสม
สำหรับเด็กที่มีปัญหากับระบบ หรือจัดระบบตัวเองไม่ได้ การติวเพื่อปรับความเข้าใจและปรับตัวก็จะช่วยได้ ส่วนเด็กที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อไปสอบเอาผลเพื่อไปเรียนต่อนั้น ก็ทำได้แต่ไม่ควรที่จะคาดหวังให้สมบูรณ์
ความอิสระทางปัญญา
ที่เขียนแบบนี้เพราะอยากบอกว่า หัวใจสำคัญของการติวในมุมมองของผู้เขียนคือการสร้างอิสระทางปัญญาให้กับเด็กที่ผ่านการติว หมายความว่าเด็กมีความสามารถที่จะต่อยอดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ทุกเรื่อง ด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่รอบตัว ไม่ว่าเขาจะเห็นอะไรเขาก็กระหายที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง เขาอาจจะเรียนอ่อนในบางวิชา และอาจไม่ได้เรียนเก่งที่สุด แต่เด็กเหล่านี้ก็จะมีช่องทางที่จะหาวิธีหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่จะเรียนรู้และแก้ข้อจำกัด หรือข้อติดขัดของตนเองได้ เหมือนลูกศิษย์ผู้หนึ่งของผู้เขียนที่มีความกังวลหนักว่าพ่อแม่และคุณครูให้ปรับปรุงการอ่านหนังสือ เพราะอ่านน้อยไป ลูกศิษย์ไม่ใช่ไม่ชอบอ่าน แต่สนใจอ่านเฉพาะบางเรื่องที่สนใจเท่านั้น จึงมาปรึกษาว่าทำอย่างไรให้เป็นคนรักการอ่านทุกชนิด จึงถามไปว่าเรามีจุดแข็งอะไร ลูกศิษย์ก็แจกแจงมา ก็บอกว่าเรามีเพื่อนที่ชอบอ่านหนังสือหลายคนมั้ย ก็ได้รับคำตอบว่าหลายคน จึงแนะนำไปว่า ถ้าแข่งกันอ่านหนังสือเก่ง ชีวิตนี้ก็ไร้ความสนุกสนานที่จะพึ่งพากันและกัน ในเมื่อเรามีดีในด้านการดูแลความเป็นอยู่เพื่อน ก็จงดูแลเพื่อนนักอ่านอย่างดี แล้วคอยให้เขามาเล่าให้ฟังในหนังสือที่น่าสนใจ เท่านี้เราก็ได้ทั้งเพื่อนรักและความสนุกจากการอ่านหนังสือ ทุกวันนี้ลูกศิษย์คนนั้นก็รู้จักตัวเองมากขึ้น และรู้ว่าจะดึงวัตถุดิบรอบตัวมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
เด็กที่มีอิสระทางปัญญาจะมีพัฒนาการความอดทนที่จะเสาะแสวงหาความรู้และจะเป็นผู้พร้อมไปด้วยข้อมูล วัตถุดิบทางปัญญา อันเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะออกไปแข่งขันในโลกภายนอก ที่ไม่อาจเดาโจทย์ชีวิตได้ และไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย ดังนั้นเพื่อให้ได้อิสระทางปัญญาที่ว่า ผู้ปกครองจึงควรตั้งคำถามก่อนตัดสินใจเรื่องการติวว่า
- ลูกเรามีปัญหาการเรียนจริงๆหรือติดเฉพาะบางเรื่องบางความชำนาญเท่านั้น แล้วเราได้ให้เวลาเขาพยายามแก้ไขด้วยตัวเองมากพอหรือยัง
- ลุกของเราได้พยายามหาช่องทางหรือวัตถุดิบที่มีที่โรงเรียนเช่น ครู เพื่อน ห้องสมุด ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นต้นมาแก้ปัญหาตัวเองหรือยัง เขาได้ฝึกที่จะไปเสาะแสวงหาทางออกเหล่านี้มั้ย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
You are free to comment. We will treat it as our honor.